พันธกิจ
พันธกิจของสถาบันฝึกอบรมแบบใช้โรงพยาบาลเป็นฐาน โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา
1. ผลิตแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัวที่มีคุณลักษณะดังต่อไปนี้
1.1. มีปฏิสัมพันธ์อันดีต่อผู้ป่วย และผู้ร่วมงานอื่น ๆ
1.2. มีความเชี่ยวชาญตามมาตรฐานวิชาชีพและมีการเรียนรู้ที่จะพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง
1.3. มีภาวะผู้นำ (Leadership) และการคิดวิเคราะห์เชิงระบบ (Systems thinking)
1.4. สร้างเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพและเป็นที่ปรึกษาให้แก่ผู้ป่วยครอบครัวและชุมชน ตลอดจน (networking and collaborating)
2. สนับสนุนนโยบายของกระทรวงสาธารณสุขและตอบสนองความต้องการด้านสุขภาพของประชาชน
3. จัดระบบการเรียนรู้ของแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัวโดยใช้โรงพยาบาลและชุมชนเมืองเป็นฐาน (Hospital- based)
4. สร้างอัตลักษณ์และคุณค่าของความเป็นแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัวให้เป็นที่ประจักษ์
พันธกิจการฝึกอบรมแบบใช้ชุมชนเป็นฐานของเครือข่ายฝึกอบรมโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา
1. ผลิตแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัวที่มีคุณลักษณะดังต่อไปนี้
1.1. มีปฏิสัมพันธ์อันดีต่อผู้ป่วย และผู้ร่วมงานอื่นๆ
1.2. มีความเชี่ยวชาญตามมาตรฐานวิชาชีพและมีการเรียนรู้ที่จะพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง
1.3. มีภาวะผู้นํา (Leadership) และการคิดวิเคราะห์เชิงระบบ (Systems thinking)
1.4. สร้างเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพและเป็นที่ปรึกษาให้แก่ผู้ป่วยครอบครัวและชุมชน ตลอดจนทีมสหวิชาชีพได้ (Consultant for other health care professionals and community)
1.5. ประสานงาน (coordinating) และแสวงหาความร่วมมือและทํางานเป็นทีมกับภาคี เครือข่ายได้ (networking and collaborating)
2. สนับสนุนนโยบายของกระทรวงสาธารณสุขและตอบสนองความต้องการด้านสุขภาพของประชาชน
3. จัดระบบการเรียนรู้ของแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัวโดยใช้โรงพยาบาลและชุมชนเป็นฐาน (Community-based training)
4. สร้างอัตลักษณ์และคุณค่าของความเป็นแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัวให้เป็นที่ประจักษ์ ผลสัมฤทธิ์ของแผนการฝึกอบรมที่คาดหวัง (Expected Learning Outcomes) มาตรฐานความรู้ความชำนาญของแพทย์เฉพาะทาง จากเกณฑ์มาตรฐานความรู้ความชำนาญของแพทย์ เฉพาะทางสาขาเวชศาสตร์ครอบครัวของราชวิทยาลัยแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัวแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2565 และผลสรุปจากการประชุมเครือข่ายแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว เขตสุขภาพที่ 9 ซึ่งได้รวบรวมเสียงสะท้อน/ความคิดเห็นของผู้เข้ารับฝึกอบรม ศิษย์เก่า อาจารย์สถาบันหลักและอาจารย์สถาบันร่วมฝึกอบรม ได้ข้อสรุปว่า ผลสัมฤทธิ์การฝึกอบรมแพทย์เฉพาะทางสาขาเวชศาสตร์ครอบครัวต้องมีคุณสมบัติและความรู้ความสามารถตามสมรรถนะหลักทั้ง 6 ด้านดังนี้
ด้านที่ 1 การบริบาลผู้ป่วย (Patient care)
1.1 สามารถให้การบริบาลระดับปฐมภูมิที่มีคุณภาพสำหรับทุกกลุ่มอายุ (High quality primary care for all age groups)
1.2 สามารถให้การดูแลที่ครอบคลุมทั้งการส่งเสริม ป้องกัน รักษาและฟื้นฟูสุขภาพ (Comprehensive care) 1.3 ดูแลผู้ป่วยนอก (Ambulatory care) ทั้งผู้ป่วยเฉียบพลัน (Acute care) และผู้ป่วยเรื้อรัง (Chronic care) สามารถรับปรึกษา และส่งต่อผู้ป่วยได้อย่างเหมาะสม
1.4 ดูแลผู้ป่วยที่มารับการรักษาในโรงพยาบาลได้อย่างเหมาะสม (Appropriated inpatient care)
1.5 สามารถให้การดูแลผู้ป่วยที่บ้าน (Home care) โดยเฉพาะกลุ่มผู้สูงอายุ ผู้พิการและทุพพลภาพ
1.6 สามารถให้การดูแลแบบประคับประคอง (Palliative care)
ด้านที่ 2 ความรู้และทักษะหัตถการทางเวชกรรม (Medical Knowledge and Procedural Skills)
2.1 เข้าใจวิทยาศาสตร์การแพทย์พื้นฐานของร่างกายและจิตใจของระดับบุคคลทุกกลุ่มวัย
2.2 มีความรู้ความสามารถในวิชาชีพและเชี่ยวชาญในสาขาเวชศาสตร์ครอบครัว
2.3 ดูแลโดยมุ่งเน้นครอบครัว (Family Oriented Approach)
2.4 ดูแลโดยมุ่งเน้นชุมชน (Community Oriented Approach)
ด้านที่ 3 ทักษะระหว่างบุคคลและการสื่อสาร (Interpersonal and Communication Skills)
3.1 นำเสนอข้อมูลผู้ป่วยและอภิปรายปัญหาอย่างมีประสิทธิภาพ
3.2 ดูแลโดยยึดผู้ป่วยเป็นศูนย์กลางและการดูแลแบบองค์รวม (Person-centered and Holistic Care)
3.3 ถ่ายทอดความรู้และทักษะให้แพทย์ นิสิต นักศึกษาแพทย์บุคลากรทางการแพทย์ตลอดจนประชากรในชุมชน ที่รับผิดชอบ
3.4 ความสัมพันธ์ระหว่างแพทย์ ผู้ป่วย และครอบครัวผู้ป่วย (Doctor-patient-family relationship) โดย สามารถสื่อสารให้ข้อมูลแก่ผู้ป่วย ญาติ ครอบครัวและชุมชน ได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ มีเมตตา เคารพ การตัดสินใจและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์
3.5 มีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดีทำงานกับผู้ร่วมงานทุกระดับอย่างมีประสิทธิภาพ
3.6 เป็นที่ปรึกษาและให้คำแนะนำแก่แพทย์และบุคลากรอื่นโดยเฉพาะทางเวชศาสตร์ครอบครัว
ด้านที่ 4 การเรียนรู้และการพัฒนาจากฐานการปฏิบัติ (Practice-Based Learning and Improvement)
4.1 มีการพัฒนาตนเองและการเรียนรู้จากการปฏิบัติ (Practice-Based) ความคิดสร้างสรรค์ตามหลัก วิทยาศาสตร์ในการสร้างองค์ความรู้ใหม่ และพัฒนาระบบบริการสุขภาพ
4.2 เรียนรู้และเพิ่มประสบการณ์ได้ด้วยตนเองจากการปฏิบัติ
4.3 วิพากษ์บทความและงานวิจัยทางการแพทย์
4.4 ดำเนินการวิจัยทางการแพทย์ และสาธารณสุขได้
4.5 นำหลักฐานเชิงประจักษ์มาประยุกต์ใช้ในเวชปฏิบัติ
ด้านที่ 5 วิชาชีพนิยม (Professionalism)
5.1 มีคุณธรรม จริยธรรม และเจตคติอันดีต่อผู้ป่วย ญาติ ผู้ร่วมงาน เพื่อนร่วมวิชาชีพและชุมชน
5.2 มีความสนใจใฝ่รู้และสามารถพัฒนาไปสู่ความเป็นผู้เรียนรู้ต่อเนื่องตลอดชีวิต
5.3 มีทักษะ non-technical skills
5.4 มีความรับผิดชอบต่องานที่ได้รับมอบหมาย
5.5 คำนึงถึงผลประโยชน์ส่วนรวมและจริยธรรมทางการแพทย์
ด้านที่ 6 การทำเวชปฏิบัติให้สอดคล้องกับระบบสุขภาพ (System-Based Practice)
6.1 มีความรู้เกี่ยวกับระบบสุขภาพของประเทศ
6.2 มีความรู้เกี่ยวกับการจัดการบริการปฐมภูมิ (Primary Care Management)
6.3 มีความรู้และมีส่วนร่วมในระบบพัฒนาคุณภาพการดูแลรักษาผู้ป่วย
6.4 ใช้ทรัพยากรสุขภาพอย่างเหมาะสม (Cost Consciousness Medicine) และสามารถปรับเปลี่ยนการดูแล รักษาผู้ป่วยให้เข้ากับบริบทของการบริการสาธารณสุขได้ตามมาตรฐานวิชาชีพ
6.5 สามารถทำหน้าที่เป็นแหล่งข้อมูลให้กับประชากรในความดูแล (Resource Person of a Defined Population)
6.6 เข้าใจเรื่องความปลอดภัยของผู้ป่วย (Patient safety)
6.7 สามารถร่วมดำเนินการการประกันคุณภาพและควบคุมคุณภาพอย่างต่อเนื่อง (Quality Assurance - QA and Continuous Quality Improvement - CQI)