ชื่อหลักสูตร
(ภาษาไทย) หลักสูตรการฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้านเพื่อวุฒิบัตรแสดงความรู้ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพเวชกรรม
สาขากุมารเวชศาสตร์
(ภาษาอังกฤษ) Residency Training in Pediatrics
ชื่อวุฒิบัตร
- ชื่อเต็ม
(ภาษาไทย) เพื่อวุฒิบัตรแสดงความรู้ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพเวชกรรม
สาขากุมารเวชศาสตร์ ในการประกอบวิชาชีพเวชกรรม สาขากุมารเวชศาสตร์
(ภาษาอังกฤษ) Diploma of the Thai Board of Pediatrics
- ชื่อย่อ
(ภาษาไทย) วว.กุมารเวชศาสตร์ ในการประกอบวิชาชีพเวชกรรม สาขากุมารเวชศาสตร์
(ภาษาอังกฤษ) Dip.,Thai Board of Pediatrics
พันธกิจของภาควิชา
บริการอย่างมีคุณภาพ
ดูแลสุขภาพเด็กแบบองค์รวม
ร่วมผลิตแพทย์ที่เพียบพร้อมด้วยความรู้และคุณธรรม
พัฒนาศักยภาพวิชาการและงานวิจัย
ศักยภาพการฝึกอบรม
สามารถรับอบรมกุมารแพทย์ได้ 13 ตำแหน่ง แบ่งเป็น
- แพทย์พี่เลี้ยง (รับผ่านสบพช) 3 ตำแหน่ง
- แพทย์ประจำบ้าน 10 ตำแหน่ง
โครงสร้างหลักสูตร
การฝึกอบรมมีระยะเวลาทั้งสิ้น 3 ปี เปิดการฝึกอบรมวันที่ 1 กรกฎาคม ของทุกปีการศึกษา
ดาวน์โหลดเอกสารเพิ่มเติม >>>
หลักสูตรการฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้าน
การจัดประสบการณ์การเรียนรู้
กรอบการฝึกอบรม
การฝึกอบรมแบ่งเป็น 3 ระดับ โดยหนึ่งระดับเทียบเท่าการฝึกอบรมแบบเต็มเวลาไม่น้อยกว่า 50 สัปดาห์ รวมระยะเวลาทั้ง 3 ระดับแล้วเทียบเท่าการฝึกอบรมเต็มเวลาไม่น้อยกว่า 150 สัปดาห์ ทั้งนี้อนุญาต ให้ลาพักร้อนรวมกับลาทุกประเภทได้ไม่เกิน 2 สัปดาห์ต่อระดับการฝึกอบรม จึงจะมีสิทธิได้รับการพิจารณา ประเมินเพื่อวุฒิบัตรฯ ในกรณีลาเกินกว่าที่กำหนด จะต้องมีการขยายเวลาการฝึกอบรมให้มีระยะเวลาการ ฝึกอบรมทั้งสิ้นไม่ต่ากว่า 150 สัปดาห์ จึงจะมีสิทธิได้รับการพิจารณาประเมินเพื่อวุฒิบัตรฯ
แผนการอบรม
ชั้นปีที่ 1 เน้นเพิ่มความรู้ด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์พื้นฐาน ความรู้ทางกุมารเวชศาสตร์ การบริบาลผู้ป่วยเด็กทั่วไประบบสุขภาพและการสร้างเสริมสุขภาพเด็ก รวมทั้งเรียนรู้เรื่อง adolescent medicine
ชั้นปีที่ 2 เน้นเพิ่มความรู้ทางกุมารเวชศาสตร์ การบริบาลผู้ป่วยเด็กทั่วไปและเฉพาะสาขาเพิ่มเติม คือ child development และ social pediatrics เรียนรู้การทางานเป็นทีมแบบสหสาขาวิชาชีพ โดยเน้นการทำงานเป็นหัวหน้าทีม
ชั้นปีที่ 3 เน้นเพิ่มความรู้ทางกุมารเวชศาสตร์ การบริบาลผู้ป่วยเด็กทั่วไปและเฉพาะสาขา พร้อมทั้งจัดให้มีประสบการณ์การเรียนรู้ระบบสุขภาพตามแนวทางของกระทรวงสาธารณสุขเพื่อเตรียมการปฏิบัติงานจริงหลังจบการฝึกอบรม (แพทย์ประจาบ้านแผน ก.) และฝึกประสบการณ์การเรียนรู้ด้านแพทยศาสตร์ศึกษา เพื่อเตรียมเรียนต่อเฉพาะสาขา และเป็นอาจารย์แพทย์ (แพทย์ประจำบ้านแผน ข.)
การจัดการเรียนรู้
การเรียนรู้จากการปฏิบัติงาน
กุมารเวชศาสตร์ทั่วไป
- ผู้ป่วยใน
แพทย์ประจำบ้านจะได้ฝึกปฏิบัติการบริบาลผู้ป่วย พร้อมทั้งให้คำแนะนำแก่นักศึกษาแพทย์ปี 4 5 และ 6 ในการดูแลผู้ป่วยภายใต้การกำกับดูแลของอาจารย์แพทย์ ซึ่งหอผู้ป่วยใน มีจำนวน 7 หอ ดังนี้
• หอผู้ป่วยกุมารเวชกรรมสามัญ 1 ดูแลผู้ป่วยโรคติดเชื้ออายุ 29 วัน – 15 ปี
• หอผู้ป่วยกุมารเวชกรรมสามัญ 2 ดูแลผู้ป่วยโรคทั่วไป อายุ 29 วัน – 15 ปี
• หอผู้ป่วยทารกแรกเกิดป่วย 1
• หอผู้ป่วยทารกแรกเกิดป่วย 2
• หอผู้ป่วยทารกแรกเกิดวิกฤต
• หอผู้ป่วยวิกฤต
• หอผู้ป่วยโรคเลือดและมะเร็ง
- ผู้ป่วยฉุกเฉินและเฉียบพลัน และผู้ป่วยนอกทั่วไป
แพทย์ประจำบ้านจะได้ฝึกปฏิบัติการบริบาลผู้ป่วยที่มีปัญหาด้านกุมารเวชศาสตร์ทั่วไปที่ห้องตรวจผู้ป่วยนอกกุมารเวชกรรม รวมทั้งมีการจัดประสบการณ์ให้ดูแลผู้ป่วยที่มีภาวะฉุกเฉินทั้งในช่วงในเวลาราชการและนอกเวลาราชการอีกด้วย
กิจกรรม |
ชั้นปีที่ 1 |
ชั้นปีที่ 2 |
ชั้นปีที่ 3 |
● การปฏิบัติงานหอผู้ป่วยใน |
- PICU |
1 เดือน |
1 เดือน |
1 เดือน |
- NICU |
2 เดือน |
1 เดือน |
1.5 เดือน |
- IPD |
4.5 เดือน |
3 เดือน |
4 เดือน |
- IPD/ER/normal newborn |
1 เดือน |
0.5 เดือน |
0.5 เดือน |
● การปฏิบัติงานแผนกผู้ป่วยนอก |
- WBC
- Continuity clinic
- Subspecialty clinic
|
1.5 เดือน |
1.5 เดือน |
1.5 เดือน |
โรงพยาบาลชุมชน |
|
|
0.5 เดือน |
วิชาเลือก |
เวชศาสตร์วัยรุ่น 1 เดือน |
พัฒนาการเด็ก 1 เดือน |
|
|
|
กุมารเวชศาสตร์สังคม 1 เดือน |
|
|
วิชาเลือกภายในสถาบัน 1 เดือน |
วิชาเลือกเสรี 3 เดือน |
วิชาเลือกเสรี 3 เดือน |
การอยู่เวรนอกเวลา
วันธรรมดา
15.30 น. – 8.00 น. วันรุ่งขึ้น
วันหยุด 8.00-8.00 น.วันรุ่งขึ้น
|
ทุก 3 วัน
รับปรึกษา ผู้ป่วยในรพ. และห้องคลอด
|
ทุก 4 วัน
กรณีอาวุโสที่สุดในเวร เป็น Chief รับปรึกษา
จากนอกโรงพยาบาล
|
ทุก 5 วัน
อยู่เวรเป็น Chief รับปรึกษาจาก นอกโรงพยาบาล
|
การลาพักผ่อน |
5 วันทำการ ช่วงอยู่ OPD |
2 สัปดาห์ |
2 สัปดาห์ |
ลาอื่น ๆ |
● ลาคลอด สามารถลาได้ 1 เดือนหรือตามสิทธิ์ต้นสังกัดแต่นับเวลาอบรมต้องไม่น้อยกว่า 150 สัปดาห์ตลอด 3 ปีการศึกษา
● ลาเพื่อประชุม อบรม สามารถลาได้ 2 ครั้งต่อปีการศึกษา (ต้องบริหารการทำงานไม่ให้มีข้อบกพร่องระหว่างที่ไปร่วมงานประชุมอบรม)
● การเรียกเกณฑ์ทหารระหว่างการฝึกอบรม ให้ยื่นเรื่องผ่อนผันจนครบการฝึกอบรม
● ลาบวช สามารถลาได้ 15 วัน แต่นับเวลาอบรมต้องไม่น้อยกว่า 150 สัปดาห์ตลอด 3 ปีการศึกษา
● อนุญาตให้ลาพักร้อนรวมกับลาทุกประเภทได้ไม่เกิน 2 สัปดาห์ต่อระดับการฝึกอบรม จึงจะมีสิทธิได้รับการพิจารณาประเมินเพื่อวุฒิบัตรฯ
● ในกรณีลาเกินกว่าที่กำหนด จะมีการขยายเวลาการฝึกอบรมให้มีระยะเวลาการฝึกอบรมทั้งสิ้นไม่ต่ำกว่า 150 สัปดาห์ จึงจะมีสิทธิได้รับการพิจารณาประเมินเพื่อวุฒิบัตรฯ
|
- การเรียนรู้อื่นๆ
แพทย์ประจำบ้านยังได้ฝึกประสบการณ์การดูแลเด็กในแง่มุมต่างๆผ่านการจัดกิจกรรม workshop ต่างๆเช่น การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ การฝึกปฏิบัติการ neonatal resuscitation PALS การให้ความรู้แก่ชุมชน
การเรียนรู้จากการสอนบรรยายและกิจกรรมวิชาการ
แพทย์ประจำบ้านจะได้รับการสอนบรรยาย เรื่องวิทยาศาสตร์การแพทย์พื้นฐาน ความรู้กุมารเวชศาสตร์จากอาจารย์แพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะสาขา นอกจากนั้นยังมีการสอนบรรยายจากอาจารย์แพทย์ต่างสถาบัน รวมทั้งมีกิจกรรมวิชาการที่กระตุ้นให้แพทย์ประจำบ้านเกิดการเรียนรู้ด้วยตนเองอย่างยั่งยืน เช่น morning report conference, review articles, grand round, interesting case conference, journal club
ตารางกิจกรรมวิชาการ
วัน \ เวลา |
9.00-10.00 น. |
12.00-13.00 น. |
13.30-14.30 น. |
จันทร์ |
Morning report |
Core lecture |
Extern conference |
อังคาร |
Interesting case/ Grand round/ Review articles |
|
Topic review (R3 rama) |
พุธ |
Morning report |
|
|
พฤหัสบดี |
Journal club |
Interdepartment conference/ continuity clinic conference/ Multi-disciplinary or Ethic conference |
OB-Ped/ Perinatal conference (ทุก 3 เดือน) |
ศุกร์ |
Morning report |
M&M conference (4th week) |
Intern conference |
การเรียนรู้จากงานวิจัย
แพทย์ประจำบ้านจะได้เรียนรู้กระบวนการทำงานวิจัยผ่านการผลิตงานวิจัย 1 ผลงาน โดยตลอดกระบวนการจะมีอาจารย์ที่ปรึกษาด้านงานวิจัยคอยกำกับดูแล
PALS, NB resuscitation, สอนบรรยายจากอาจารย์แพทย์ต่างสถาบัน
ผลการประเมินกุมารแพทย์ที่จบแล้ว

พันธกิจของแผนการฝึกอบรม
คือ ผลิตกุมารแพทย์ที่มีคุณสมบัติดังนี้
1. มีความรู้ ความสามารถ ทักษะทางกุมารเวชศาสตร์ทั่วไป มีคุณธรรม จริยธรรม และสามารถทำงานอย่างมืออาชีพตรงตามมาตรฐานของราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย
2. มีภาวะผู้นำ และมีความสามารถในการบริหารจัดการทรัพยากรและบุคลากรในทีมดูแลผู้ป่วยอย่างมีประสิทธิภาพ
3. สามารถสร้างเสริมสุขภาพเด็กแบบองค์รวมที่มีคุณภาพระดับมาตรฐาน ให้การกำกับดูแลสุขภาพตามช่วงวัยและปัญหาที่สำคัญอื่น ๆ ของชุมชน สามารถจัดกิจกรรมบริการวิชาการสู่สังคมเพื่อให้เด็กไทยมีสุขภาพดี ทั้งร่างกาย จิตใจ อารมณ์ และสังคม
4. เข้าใจระบบบริการสาธารณสุข โดยเฉพาะในเขต 9 นครชัยบุรินทร์ สามารถสร้างเครือข่ายการดูแลสุขภาพผู้ป่วยร่วมกับโรงพยาบาลศูนย์ในการดูแลรักษา และรับส่งต่อผู้ป่วยกลับมาดูแลที่โรงพยาบาลต้นทางได้อย่างเหมาะสม
5. มีความสามารถในการเรียนรู้ต่อเนื่อง และสามารถใช้ความรู้เวชศาสตร์เชิงประจักษ์ ในการดูแลรักษาผู้ป่วยได้เป็นอย่างดี
6. ผลิตผลงานวิจัยรวมทั้งเทคโนโลยีที่มีคุณภาพ จากความรู้ที่มีอยู่รวมถึงภูมิปัญญาท้องถิ่น เพื่อใช้ประโยชน์ในการแก้ไขปัญหาสุขภาพเด็กไทย โดยตอบสนองปัญหาเด็กไทยในชุมชน รวมทั้งปรับใช้เพื่อแก้ไขปัญหาระดับประเทศได้
7. มีความสามารถในการสอนทางคลินิก นักศึกษาแพทย์ บุคลากรทางการแพทย์ สามารถพัฒนาตนเองและศึกษาต่อเนื่องในระดับกุมารแพทย์เฉพาะสาขา เพื่อเป็นอาจารย์แพทย์ได้
8. สามารถจัดสมดุลระหว่างสภาวะการทำงานและการรักษาสุขภาพของตนเอง เป็นกุมารแพทย์ที่ดำเนินชีวิตได้อย่างมีความสุข
การสมัครแพทย์ประจำบ้าน
คุณสมบัติของผู้รับการฝึกอบรม
ผู้สมัครเข้ารับการฝึกอบรมแพทย์ประจาบ้านสาขากุมารเวชศาสตร์จะต้องได้รับปริญญาแพทยศาสตรบัณฑิตและใบอนุญาตประกอบวิชาชีพเวชกรรมจากแพทยสภา ผ่านการเป็นแพทย์เพิ่มพูนทักษะ นอกจากนี้ ยังต้องมีสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรง ปราศจากโรค อาการของโรค หรือความพิการอันเป็นอุปสรรคต่อการฝึกอบรม การปฏิบัติงาน และการประกอบวิชาชีพเวชกรรม
(อ้างอิงตามประกาศกลุ่มสถาบันแพทยศาสตร์แห่งประเทศไทยเรื่อง “คุณสมบัติเฉพาะของผู้สมัครเข้าศึกษาหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต ฉบับพ.ศ. 2559”)
รวมทั้งมีคุณสมบัติ อื่นๆตามที่แพทยสภากำหนด โดยยื่นใบสมัครเข้ารับการฝึกอบรมที่แพทยสภาตามระยะเวลารับสมัครที่แพทยสภากำหนด
กระบวนการคัดเลือกผู้เข้ารับการฝึกอบรม
มีขั้นตอนดังนี้
1. กำหนดศักยภาพผู้เข้ารับการอบรมแพทย์ประจาบ้าน แผน ก. ซึ่งจะพิจารณาแล้วแจ้งต่อราชวิทยาลัยกุมารฯในเดือนกรกฎาคมของทุกปี
2. กำหนดคุณสมบัติผู้เข้ารับการฝึกอบรม ให้สอดคล้องกับพันธกิจของภาควิชาและหลักสูตรการอบรม โดยมีคุณสมบัติดังนี้
- ผู้เข้ารับการฝึกอบรมต้องมีสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรง ปราศจากโรค อาการของโรค หรือความพิการอันเป็นอุปสรรคต่อการฝึกอบรม การปฏิบัติงาน และการ ประกอบวิชาชีพเวชกรรม ตามประกาศแพทยสภาที่ ๘๙/๒๕๖๐
- ผู้เข้ารับการฝึกอบรมต้องได้รับปริญญาแพทยศาสตร์บัณฑิตและใบอนุญาตประกอบวิชาชีพเวชกรรมจากแพทยสภา (แผน ก.)
- เป็นผู้เข้าอบรมที่มีต้นสังกัด โดยเฉพาะอย่างยิ่งต้นสังกัดเขต 9 เพื่อสามารถกลับไปพัฒนาเครือข่ายในการดูแลผู้ป่วยเด็กร่วมกันได้ (แผน ก.)
- สำหรับแพทย์ประจำบ้าน แผน ข. ใช้เกณฑ์คุณสมบัติตามประกาศสานักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง รับสมัครแพทย์พี่เลี้ยงโครงการผลิตแพทย์เพื่อชาวชนบท
3. ประกาศรับสมัครแพทย์ประจาบ้านในหน้าเว็บเพจของภาควิชาทั้งแพทย์ประจาบ้าน แผน ก. และ แผน ข. (มีประกาศเพิ่มเติมในหน้าเว็บเพจของ CPIRD ด้วย) โดยได้ประกาศขั้นตอน เกณฑ์การคัดเลือก และระบบการอุทธรณ์ผล
link ใบสมัครแพทย์ประจำบ้าน
4. ขั้นตอนการคัดเลือกผู้เข้ารับการอบรม
- แต่งตั้งคณะกรรมการคัดเลือกแพทย์ประจำบ้านซึ่ง แผน ก. แต่งตั้งโดยคณะกรรมการหลักสูตรของภาควิชารับรองโดยคณะกรรมการแพทย์ประจำบ้านศูนย์แพทยศาสตร์ โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา และคณะกรรมการคัดเลือกแพทย์ประจำบ้านซึ่ง แผน ข. แต่งตั้งโดยคณะกรรมการหลักสูตรของภาควิชารับรองโดย สบพช.
- กรรมการคัดเลือกแพทย์ประจำบ้านทั้ง 2 ชุดต้องยึดหลักความเสมอภาค โปร่งใสและตรวจสอบได้ มีการลงนามในใบ COI กรรมการคัดเลือกแพทย์ประจำบ้านพิจารณาเกณฑ์การคัดเลือกให้สอดคล้องกับพันธกิจและแผนการอบรม ซึ่งการคัดเลือกแพทย์ประจาบ้านทั้ง 2 แผนจะพิจารณาจากปัจจัยต่างๆ ดังต่อไปนี้
4.1 ประวัติการศึกษา (แพทยศาสตรบัณฑิต) คะแนนการเรียน และผลสอบ NL
4.2 การสัมภาษณ์
4.3 จดหมายรับรองจากหัวหน้างาน (Recommendation letter)
4.4 ประวัติการทำงานที่ผ่านมา
4.5 เจตคติ พฤตินิสัย
4.6 ความสามารถในการสืบค้นข้อมูลจากวารสารทางการแพทย์ โดยจะทดสอบในวันสัมภาษณ์
4.7 ผู้สมัครในโครงการแพทย์พี่เลี้ยง (แผน ข) จะพิจารณาความสนใจและประสบการณ์ในการสอนนักศึกษาแพทย์ด้วย
ผู้สมัครต้องผ่านโครงการเพิ่มพูนทักษะแพทย์ใช้ทุนปีที่ 1 ตามเกณฑ์ของแพทยสภา และคุณสมบัติของผู้มีสิทธิ์สมัครแพทย์ประจาบ้านต้องเป็นไปตามเกณฑ์ของราชวิทยาลัยกุมารฯ ซึ่งถือตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดในประกาศแพทยสภา โดยจะพิจารณาอย่างเสมอภาค เท่าเทียม ไม่แบ่งแยก เพศ เชื้อชาติ ศาสนา และความคิดทางการเมือง
คะแนนพิเศษ - ผู้สมัครที่มีต้นสังกัดเขตสุขภาพที่ 9 นครชัยบุรินทร์
ทั้งนี้ผู้ที่ใช้ทุนครบ 3 ปีและรับทุนจากกระทรวงสาธารณสุขจะได้รับการพิจารณาก่อน ยกเว้น ผู้สมัครในโครงการแพทย์พี่เลี้ยง (แผน ข)
5. รายงานผลการคัดเลือกเมื่อเสร็จสิ้นการคัดเลือกไปยังสบพช. (แผน ข.) และราชวิทยาลัยกุมารฯ (แผน ก.)
6. ประกาศผลการคัดเลือกอย่างเป็นทางการตามช่องทางของแต่ละแผนการอบรม
7. ผู้เข้ารับการคัดเลือกสามารถอุทธรณ์ผลการคัดเลือกได้หลังมีการประกาศผลอย่างเป็นทางการได้โดยติดต่อที่ศูนย์แพทยศาสตร์ศึกษา งานแพทย์ประจำบ้าน
รายชื่อแพทย์ประจำบ้าน สาขากุมารเวชศาสตร์ ที่ได้เลื่อนชั้นปี และจบการฝึกอบรม ปีการศึกษา 2565
ลำดับ |
ชื่อ-สกุล |
เลื่อนชั้นปี |
1. |
พญ.ปรมาภรณ์ (อุ๊) |
แก้วอำภา |
|
2. |
พญ.ณิชกานต์ |
อุทัยรัตน์ |
1 |
3. |
พญ.กมลชนก |
นิธิพรศรี |
1 |
4. |
พญ.สุธาสินี |
เหล่าศักดิ์ชัย |
1 |
5. |
พญ.ชนากานต์ |
สิทธิสมบูรณ์ |
1 |
6. |
พญ.วรพรรณ |
เหล่าชูเจริญกิจ |
1 |
7. |
พญ.นิชนันท์ |
อัตระผดุง |
1 |
8. |
พญ.ชลกร |
จรุงจิตตานุสนธิ์ |
1 |
9. |
พญ.พรทิพา (ฝ้าย) |
ศรีวัฒนา |
2 |
10. |
พญ.ปทิตตา (แพร) |
ดรดี |
2 |
11. |
พญ.พัฒน์นรี (เฟิน) |
จันทร์รุ่งมณีกุล |
2 |
12. |
นพ.พชรพล (แจน) |
สุขเอม |
2 |
13. |
พญ.ภัทรียา (บู) |
ประดาสุข |
3 |
14. |
พญ.พุทธิมน (เบลล์) |
จงไกรจักร |
3 |
15. |
พญ.พัทราภรณ์ (อ้อม) |
เธียรวรรณ |
3 |
16. |
นพ.ปุณณวิช (เชียร์ ) |
โล่ห์วงศ์วัฒน |
3 |
17. |
พญ.ณัฐธิดา (นัท) |
ภานิชาภัทร |
3 |
18. |
นพ.ณมนณ์ (น้ำมน) |
ศานติวรวงศ์ |
3 |
19. |
พญ.ชนิกานต์ (ออม) |
เพิ่มทองชูชัย |
3 |
20. |
พญ.กานติมา (เฟิน) |
พงศ์พิชญศิริ |
3 |
21. |
พญ.กาญจนาพร (เป้า) |
ทองคำสุก |
3 |
22. |
พญ.ธนัชชา (มายส์) |
โง้วจิระศักดิ์ |
จบการฝึกอบรม |
23. |
พญ.ธนัฎฐา (อุ้ม) |
พัฒนพงษ์ไพบูลย์ |
จบการฝึกอบรม |
24. |
นพ.ชยุต (บิ๊ก) |
ไตรติลานันท์ |
จบการฝึกอบรม |
25. |
นพ.ปุณณวิช (ปุณ) |
คงพิทักษ์สกุล |
จบการฝึกอบรม |
26. |
พญ.ดาริน (ด้า) |
มั่นยืน |
จบการฝึกอบรม |
27. |
นพ.ระพี (บิ๊ก) |
สิริวรรณวงษ์ |
จบการฝึกอบรม |
28. |
พญ.ชมพูนุช (ชมพู่) |
ขจิตพรวดี |
จบการฝึกอบรม |
29. |
พญ.ปวรี (กี๋) |
ปวโรจน์กิจ |
จบการฝึกอบรม |
30. |
พญ.ชฎาภรณ์ (นุ่น) |
ต๋องเรียน |
จบการฝึกอบรม |
31. |
พญ.นิภาภัทร (ป๋วย) |
เบ็ญณรงค์ |
จบการฝึกอบรม |
32. |
พญ.เมขลา (มุ่ย) |
คำเรืองศรี |
จบการฝึกอบรม |
33. |
พญ.ธีรารัตน์ (บิว) |
ปลื้มใจ |
จบการฝึกอบรม |
34. |
พญ.สุประวีณ์ (โรส) |
เซ่งล่ำ |
จบการฝึกอบรม |
35. |
พญ.ปุณยนุช (ปุ๊น) |
จงเจริญใจ |
จบการฝึกอบรม |
36. |
พญ.ณัฐชรินธร (เกมส์) |
ทวีพลอังศุชวาล |
จบการฝึกอบรม |
37. |
พญ.พิมลพรรณ (มุก) |
วิริยะกุลนันท์ |
จบการฝึกอบรม |
38. |
พญ.วิลาสินี (เพียว) |
อัศวสุดสาคร |
จบการฝึกอบรม |
39. |
พญ.สุภัค (ภัค) |
ดลกุล |
จบการฝึกอบรม |
40. |
พญ.ศุภรานันท์ (อีฟ) |
พุ่มยี่สุ่น |
จบการฝึกอบรม |
41. |
พญ.พิชยา (หลี) |
พูลสวัสดิ์ |
จบการฝึกอบรม |